สวยป่ะ


น่ารักปะ
เทคโนโลยีสารสนเทศ 2003- 2010 โดยมีการเปลี่ยนแปลง คือ อุปกรณ์ต่างๆดังนี้ที่เป็นอุปกรณ์สมัยใหม่คือ mobil โทรศัพท์ขนาดเล็กที่ตอบสนอง การดูหนัง ฟังเพลงได้ การเข้ารหัสรักษาความปลอดภัย-การศึกา เช่นการเรียนทางไกล โดยผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกล-เกมส์ เป็นเกมจำลองสถาน การ เช่นการตีกอฟสามารถหาจุดบกพร่องได้-การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบสามมิติ-เก็บข้อมูลคามทรงจำในอุปกรณ์บันทึกที่มีความจุมากๆ-เข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา-หุ่นยนต์-ATระบบอัฉริยะ สามารถสื่อสารกับเราได้ เป็นตัวที่สั่งการได้ตลอดเวลาซึ่งเป็นการคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
ร่าง
4





rj45




คือ หัวต่อที่ใช้กับสายสัญญาณเชื่อมเครือข่ายแบบสายคู่ตีเกลียว (สาย UTP) ตัวผู้ มี 2 ชนิด ได้แก่ 1.หัวต่อตัวผู้ RJ-45 (หรือที่เรียกว่ RJ-45 Connecter หรือ RJ-45 Jack Plug) เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ที่ปลายสาย UTP มีลักษณะเป็นพลาสติกสี่เหลี่ยมคล้ายหัวต่อโทรศัพท์ มีช่องสำหรับเสียบสายที่ด้านหลัง ด้านล่างเรียบ ส่วนด้านบนมีตัวล๊อค ถ้าหันหน้าเข้าด้านหน้าของหัวต่อพิน 1 จะอยู่ทางด้านซ้ายมือของเรานะคะ ในขณะที่พิน 8 จะอยู่ทางขวามือ2.หัวต่อตัวเมีย RJ-45 (หรือเรียกว่า RJ-45 Jack Face) มีลักษณะเป็นเบ้าเสียบสำหรับหัวต่อ RJ-45 ตัวผู้ เมื่อมองจากด้านที่จะนำหัวต่อตัวผู้เสียบ พิน 8 จะอยู่ทางซ้าย ส่วนพิน 1 จะอยู่ทางขวา หัวต่อตัวเมียจะมีลักษณะเป็นกล่องมีช่องสำหรับเสียบหัวต่อ ด้านในกล่องจะมีขั้วซึ่งจะเป็นส่วนที่เชื่อมกับสายนำสัญญาณ













hub




H U B หรือ Repeater อุปกรณ์ทีใช้เป็นจุดศูนย์กลางในการกระจายสัญญาณ หรือข้อมูล จะต้องใช้ไฟหล่อเลี้ยงในการทำงาน โดยปกติการเลือก Hub จะดูที่จำนวน Port ที่ต้องการ เช่น 8 ports, 12 ports, 24 ports รวมทั้ง 48 ports เป็นต้น จำนวน port หมายถึง จำนวนในการเชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้าด้วยกัน ดังนั้น Hub 24 ports หมายถึง สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่าย เข้าด้วยกัน จำนวน 24 เครื่อง













Bridge









อุปกรณ์ Bridge เป็นสิ่งที่ใช้แก้ปัญหาในเรื่องสัญญาณที่วิ่งอยู่ในเครือข่ายมากเกินไปได้ โดยจะจัดแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อยหรือ Network segment และจะทำการกลั่นกรองสัญญาณเท่าที่จำเป็นเพื่อส่งให้กับเครือข่ายย่อยที่ถูกต้องได้ ทำให้สัญญาณไม่มารบกวนกันหรือมีสัญญาณที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในเครือข่ายย่อย โดยไม่จำเป็น แต่ในทางกลับกัน ถ้ามีความจำเป็นต้องการสื่อสารกันข้ามเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากแล้ว อุปกรณ์ Bridge ก็อาจจะกลายเป็นเสมือนคอขวดที่ทำให้เครือข่ายมีการทำงานช้าลงได้






















RouterRouter




เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่า Bridge โดยทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ซึ่งจะทำหน้าที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไป เพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่นๆ เช่น สายโทรศัพท์ที่ต่อผ่านโมเด็มก็ได้ ดังนั้นจึงอาจใช้ Router ในการเชื่อมต่อ LAN หลายแบบเข้าด้วยกันผ่าน WAN ได้ด้วย และเนื่องจากการที่มันทำตัวเสมือนเป็น node หนึ่งใน LAN นี้ยังทำให้มันสามารถทำงานอื่นๆได้อีกมาก เช่น รวบรวมข้อมูลเพื่อหาเส้นทางที่ดที่สุดในการส่งข้อมูลต่อหรือตรวจสอบข้อมูลที่เข้ามานั้นมาจากไหน ควรจะให้ผ่านหรือไม่ เพื่อช่วยในเรื่องการรักษาความปลอดภัยด้วย การทำงานของ Routerสิ่งที่แตกต่างกันระหว่าง Bridge กับ Router คือ Bridge ทำงานในระดับ Data Link Layer คือจะใช้ข้อมูล station address ในการทำงานส่งข้อมูลไปยังที่ใดๆ ซึ่งหมายเลข station address นี้มีการกำหนดมาจากฮาร์ดแวร์หรือที่ส่วนของ Network Interface Card (NIC) และถูกกำหนดมาเฉพาะตัวจากโรงงานไม่ให้ซ้ำกัน ถ้ามีการเปลี่ยน NIC นี้ไป ก็จำทำให้ station address เปลี่ยนไปด้วย ส่วน Network Layer address ในกการส่งผ่านข้อมูลโปรโตคอลของเครือข่ายชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น IPX, TCP/IP หรือ AppleTalk ซึ่งจะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานใน Network Layer การกำหนด Network address ทำได้โดยผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้น ทำให้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และสามารถใช้อุปกรณ์ Router เชื่อมโยงเครือข่ายที่แยกจากกันให้สามารถส่งผ่านข้อมูลร่วมกันได้และทำให้เครือข่ายขยายออกไปได้เรื่อยๆหน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง



























Modem
Modem(Modulator Demodulator)คืออุปกรณ์ที่สามารถแปลงสัญญาณจาก Digital(สัญญาณข้อมูล) ไปเป็น Analog(สัญญาณเสียง) และจาก Analog ไปเป็น Digital เพื่อใช้ในการรับ-ส่งสัญญาณข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ Modulation คือ เทคนิคที่ใช้ในการนำหรือส่งข้อมูลไปให้ได้ไกลมากขึ้นกว่าเดิม โดยการรวมสัญญาณเสียง(Modulating Signal) เข้ากับสัญญาณความถี่สูง(Carrier Signal) เพื่อให้เกิดกำลังในการส่งสัญญาณเสียงไปได้ไกลยิ่งขึ้นด้วยคุณสมบัติของสัญญาณความถี่สูง มักจะใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง มี 3 แบบ คือ
Amplitude Modulation(A.M.) สัญญาณที่ได้จะมีความถี่คงที่ แต่ขนาดจะเปลี่ยนไปตามขนาดของสัญญาณเสียง ทำให้ส่งสัญญาณได้ไกลมาก
Frequency Modulation(F.M.) สัญญาณที่ได้จะมีขนาดคงที่ แต่ความถี่จะเปลี่ยนไปตามความถี่ของสัญญาณเสียง ทำให้มีสัญญาณรบกวนน้อยกว่า A.M. แต่ส่งได้ไม่ไกลเท่าไหร่ บางครั้งเรียก Frequency Shift Keying
Phase Modulation(P.M.) สัญญาณที่ได้จะมีความถี่และขนาดคงที่ แต่เฟสจะเปลี่ยนไปโดยใช้การเปลี่ยนแปลงของเฟส ในมุมต่างๆ เช่น 2 เฟส 180 ํ , 4 เฟส 90 ํ , 8 เฟส 45ํ บางครั้งเรียก Phase Shift KeyingModem มี 2 ชนิดคือ 1 Internal Modem เป็น Card Adapter ที่เสียบเข้าไปใน slot ของคอมพิวเตอร์ โดยมีวงจรพอร์ต อนุกรมของตัวเอง(COM3,COM4) และใช้พลังงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ 2 External Modem เป็นกล่องที่บรรจุวงจร modem มีแหล่งพลังงานของตัวเอง และจะต่อกับพอร์ต อนุกรม(COM1,COM2)ของคอมพิวเตอร์









ที่มา http://www.geocities.com/thinkingworld/network/modem.html





Switch





ต่างเป็นอุปกรณ์ศูนย์กลาง สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หลายเครื่องเข้าด้วยกันด้วยอุปกรณ์ 3 อย่าง คือ สาย UTP(Unshieled Twisted Pair แบบ Category 5(CAT5)) หัว RJ45 สำหรับเข้าหัวท้ายของสาย และ Network adapter card
Hub เป็นอุปกรณ์ในสมัยแรก ที่ทำงานแบบ broadcast เมื่อเครื่องหนึ่งต้องการส่งสัญญาณไปอีกเครื่องหนึ่ง ตัว hub จะทำหน้าที่ส่งออกไปให้กับทุกเครื่อง ถ้าเครื่องเป็นผู้รับ ก็จะรับข้อมูลไป ถ้าไม่ใช้ก็จะไม่รับ ดังนั้นเมื่อซื้อ hub ขนาด 10 port ที่มีความเร็ว 10 Mbps(Mega Bit Per Second) ความเร็วที่ได้ก็ต้องหาร 10 เหลือเพียง 1 Mbps เมื่อใช้งานจริง หากมีผู้ใช้คนหนึ่งใช้โปรแกรม sniffer คอยดักจับ package ที่ส่งจาก hub ก็จะทราบข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายนั้นทั้งหมด เช่น เนื้อความในจดหมาย เลขบัตรเครดิต username หรือ password ของผู้ใช้คนอื่น ๆ เป็นต้น สำหรับ Hub บางรุ่นจะมีช่อง Uplink สำหรับเชื่อมต่อ Hub อีกตัวหนึ่ง เพื่อขยายช่องสัญญาณ โดยใช้สาย Cross link ในการเชื่อม hub ผ่าน Uplink port โดยปกติ Hub แบบเดิมจะเป็นการเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet 10BaseT หรือมีความเร็วที่ 10 Mbps นั่นเอง
Switch เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้น โดยเลือกส่งข้อมูลถึงผู้รับเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ทำให้เครือข่ายที่ใช้ switch มีความเร็วสูงกว่าเครือข่ายที่ใช้ hub และมีความปลอดภัยสูงกว่า มีการพัฒนา switch ให้ทำงานใน Layer 3 ของ OSI ได้ ซึ่งมีความสามารถเป็น IP switching ทีเดียว





ที่มา http://www.thaiall.com/internet/internet01.htm





fiber optic
เส้นใยแก้วนำแสง (fiber optic) คืออะไร
เส้นใยแก้วนำแสงหรือไฟเบอร์ออปติก เป็นตัวกลางของสัญญาณแสงชนิดหนึ่ง ที่ทำมาจากแก้วซึ่งมีความบริสุทธิ์สูงมาก เส้นใยแก้วนำแสงมีลักษณะเป็นเส้นยาวขนาดเล็ก มีขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์เรา เส้นใยแก้วนำแสงที่ดีต้องสามารถนำสัญญาณแสงจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้ โดยมีการสูญเสียของสัญญาณแสงน้อยมาก









ที่มา http://blog.eduzones.com/banny/3127



utp

ประเภทของสาย UTP
สาย UTP แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้งาน คือ 1. สายตรง (Straight Through Cable ) คือสายคู่บิดเกลียวที่ใช้เชื่อมต่อระหว่าง LAN Card กับ HUB/Switch 2. สายไขว้ ( Crossover Cable ) คือสายคู่บิดเกลียวที่ใช้เชื่อมต่อระหว่าง LAN Card 2 อันเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องติดต่อกันได้โดยไม่ต้องผ่าน HUB/Switch หรือใช้เชื่อมระหว่าง HUB 2 ตัวเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่ม




หน่วยความจำหรือ RAM(Random Access Memory) นับว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในคอมพิวเตอร์ ประสิทธิภาพและความเสถียรของเครื่องส่วนหนึ่งมาจากหน่วยความจำที่ใช้อยู่ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องยี่ห้อ ความเร็ว ประเภทและขนาดความจุของหน่วยความจำที่ใช้ อีกนัยหนึ่งหน่วยความจำเปรียบเสมือนพื้นที่บนโต๊ะทำงานของคุณถ้ามีพื้นที่มาก ก็จะสามารถทำงานหลายๆ อย่างได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่ต้องเสียเวลาเคลียร์พื้นที่บนโต๊ะ




























การทำงานของหน่วยความจำ

ความรู้เรื่องหน่วยความจำ DDR RAM

ตารางที่ 1 คุณสมบัติของหน่วยความจำแบบ DDR (หน่วยความจำ PC2400. PC3000, PC3500, PC4000 และรุ่นที่มีความเร็วสูงกว่า ไม่ถือว่าเป็นหน่วยความจำที่ได้การรับรองจาก JEDEC แต่ก็มีการผลิตออกมาบ้างสำหรับกลุ่มพวกโอเวอร์คล๊อก)
ตารางที่ 2 ข้อมูลของหน่วยความจำชนิด DDR2 (หน่วยความจำบางรุ่นอาจจะไม่ใช่มาตรฐานของอุตสาหกรรมแต่เป็นการผลิตออกมาเพื่อกลุ่มนักโอเวอร์คล๊อก)
การทำงานของสัญญาณแบบ DDR

ถ้าหากกล่าวโดยสรุป หน่วยความจำแบบ DDR จะส่งข้อมูลได้มากขึ้นสองเท่าต่อทุกๆ รอบสัญญาณผลที่เกิดขึ้นก็คือหน่วยความจำแบบ DDR จะส่งข้อมูลมากกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับหน่วยความจำแบบเดิมที่เป็น SDR (Single Data Rate) ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาเท่ากัน ด้วยเหตุนี้จึงมีการตั้งชื่อว่า Double Data Rate ตัวอย่างของหน่วยความจำแบบนี้นี้ก็คือ DDR SDRAM รุ่นแรกๆ ที่เรียกว่า PC1600 ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแบนด์วิธ 1600MB/s โดยทำงานที่ความเร็วจริง 100 MHz แต่ด้วยเทคนิกการทำการแบบ Double Data Rate จึงทำให้ทำงานได้เหมือนกับมีความเร็ว 200MHz และตัวเลข 200MHz นี่เองที่เป็นที่มาของ DDR 200 การเรียกชื่อโดยใช้ความเร็วของบัสแบบ DDR คงจะไม่ทำให้คุณสงสัยมากนักเพราะมันไม่มีอะไรสลับซับซ้อน เนื่องจากมันเป็นการบอกข้อมูลที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่ว่าการเรียกหน่วยความจำด้วยค่าแบนด์วิธนั้นมันมีที่มาอย่างไรกันแน่? ถ้าคุณสงสัยแบบนี้ก็ต้องอ่านต่อไปครับ แบนด์วิธของหน่วยความจำ แบนด์วิธของหน่วยความจำคืออะไร นี่ก็คงจะเป็นอีกคำถามที่ตั้งขึ้นมาก่อนที่อยากจะรู้ว่าหาค่าแบนด์วิธมาได้อย่างไร แบนด์วิธของหน่วยความจำก็ของความกว้างของช่องสัญญาณที่หน่วยความจำสามารถรับหรือส่งข้อมูลออกไปได้ โดยมีหน่วยเป็น Megabyte ต่อวินาที คุณสามารถใช้สมการเพื่อคำนวณหาแบนด์วิธสูงสุดของหน่วยความจำได้ด้วยตนเอง โดยมีตัวแปร 3 ชนิดที่มาเกี่ยวข้อง ตัวแปรแรกก็คือความกว้างของบัสในเมมโมรี ตัวที่สองก็คือความถี่จริงของเมมโมรี และประเภทของการส่งสัญญาณที่ใช้ ส่วนรูปแบบของสมการที่ว่าก็คือ • X * Y * Z/8 = เมมโมรีแบนด์วิธในทางทฤษฎีที่มีตัวเลขเป็น MB ต่อวินาที • X = ความถี่จริงของเมมโมรี • Y = ความกว้างของบัส • Z = ชนิดของการส่งสัญญาณ (อาทิเช่น SDR, DDR หรือ QDR) ค่า Y ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น 64 เพราะในปัจจุบันความกว้างบัสของ SDRAM ก็คือ 64 บิต ส่วนค่า Z ขึ้นอยู่กับประเภทของการส่งสัญญาณที่เมมโมรีใช้ และจำนวนที่เหมาะสมสำหรับประเภทของการส่งสัญญาณที่ Z เป็นอยู่ ในกรณีของ DDR นั้น Z = 2 ซึ่งถือเป็นตัวเลขพื้นฐานที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ในอนาคตเราจะมีการใช้หน่วยความจำแบ QDR (Quad Data Rate) Z ก็จะเท่ากับ 4 ต่อไปนี้คือตัวอย่างแบบง่ายๆของการคำนวณแบนด์วิธแรม เราจะใช้ตัวอย่างของ PC2100 ซึ่งเมื่อใส่ตัวเลขที่ถูกต้อง คุณจะได้ 133 MHz * ความกว้างของบัส 64 บิต * 2 /8 = 2100 MB/s (ปัดเศษ) ถ้าหากคุณดูจากสมการนี้ คุณจะเข้าใจสเปคทางเทคนิค 2 แบบที่เราพูดถึงไปก่อนหน้านี้ ผลลัพธ์สุดท้ายของสมการนี้ก็คือจำนวนของแบนด์วิธที่ให้ได้ ดังนั้นเราจึงได้ชื่อ PC2100 ขึ้นมาสำหรับแรมแบบนี้ ส่วนอีกชื่อหนึ่งที่ใช้อ้างอิงถึง PC2100 ก็คือ DDR 266 ตัวเลข 266 มาจาก X * Z ซึ่งผลลัพธ์ก็คือความถี่ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยความจำ ในการหาค่าแบนด์วิดของหน่วยความจำแบบ DDR และ DDR2 จะใช้หลักการเดียวกัน สรุปแล้วก็คือมีชื่ออยู่สองแบบที่มักใช้ในการอ้างถึงแรมประเภทเดียวกัน ชื่อหนึ่งหมายถึงความถี่ที่มีประสิทธิภาพของแรม ในขณะที่อีกชื่อหนึ่งหมายถึงเมมโมรีแบนด์วิธในทางทฤษฎีที่เมมโมรีแบบนั้นให้ได้

ความแตกต่างระหว่าง DDR กับ DDR2
หลักการทำงานของหน่วยความจำแบบ DDR และ DDR2 นั้นไม่มีอะไรที่แตกต่างกันเลย แต่สิ่งที่ต่างกันก็คือคุณลักษณะทางด้านเทคนิค เช่น ความเร็วในการทำงาน การใช้แรงดันไฟ และรูปร่างหน้าตาของโมดูหน่วยความจำที่มีขาไม่เหมือนกัน สิ่งที่ DDR2 ทำก็คือพยายามเพิ่มความเร็วในการทำงาน และทำการเพิ่มแบนด์วิธโดยรวมของระบบไปพร้อมๆ กัน
รูปแสดงการทำงานของ DDR และ DDR2





ตัวควบคุมหน่วยความจำจะส่ง Row address ไปที่ขาของ Address ของหน่วยความจำ(DRAM)
สัญญาณ RAS (Row address Strobe)จากตัวควบคุมหน่วยความจำจะทำให้ Row Address ถูก Latch ที่ Row Latch และถูกส่งไปที่ Row Address Decoder เพื่อเลือก cell ในแนวของแถว
Memory Controller จะหยุดช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะส่ง Column Address ตามออกมา ช่วงเวลานี้เรียกว่า RAS to CAS delay
หลังจากที่ RAS to CAS delay ผ่านพ้นไป Column address จะถูกส่งจาก Memory Controller ไปที่ขาของ Address ของ DRAM และColumn address จะถูกหยุดที่ Column Latch และถูกส่งไปยัง Column Address Decoder ด้วยสัญญาณ CAS
Column Address Decoder จะถอดรหัส Column address จนรู้ว่า column ใดถูกเรียกใช้ ก็จะกระตุ้น cell นั้นออกมาทำงาน โดยส่งสัญญาณ WE = 1 ทำงาน, ถ้า WE = 0 ไม่ทำงาน
หน่วยความจำจะรอสัญญาณ Read/Write ต่อไป***Latch คือการเก็บค่าสถานะอินพุทเดิมไว้ก่อนที่จะยอมให้อินพุทใหม่เข้ามา

ความเป็นมาและการติดตั้งหน่วยความจำ เมื่อหลายปีก่อนในขณะที่ CPU 386 ของ Intel ซึ่งเป็น CPU 32 บิต เป็นที่นิยมใช้กันอยู่นั้น ผู้ผลิตเมนบอร์ดก็ได้มีการค้นหาว่าเทคโนโลยีของ หน่วยความจำแบบใดที่เหมาะสมที่จะใช้กับ CPU 386 มากที่สุด ในที่สุดเทคโนโลยี หน่วยความจำที่ถูกคิดค้นขึ้นก็คือเทคโนโลยีหน่วยความจำแบบ SIMM (Single In-line Memory Module) ซึ่งหน่วยความจำแบบ SIMM นี้มีลักษณะเป็นแผงโมดูลที่ประกอบด้วยชิพ หลายๆตัว และต่อจากนั้นมาก็ได้มีการนำหน่วยความจำแบบ SIMM มาใช้แทนหน่วยความจำ แบบเก่าที่ติดตั้งชิพเป็นตัวๆบนเมนบอร์ด หน่วยความจำแบบSIMMจะมีออกมาหลายขนาดและหลายความเร็วซึ่งความเร็วของหน่วยความจำจะมีหน่วย เป็น ns หรือนาโนวินาที คุณสามารถสังเกตความเร็ว ของหน่วยความจำได้จากชิพแต่ละตัวบนแผงโมดูลซึ่งจะมีเขียนบอกไว้ SIMM ที่นิยมใช้กันในขณะนั้นจะมีจำนวนขาอยู่ 30 พิน โดยจะมีทั้งแบบที่มีชิพบนแผง โมดูลอยู่ 2 หรือ 3 ตัว และแบบที่มีชิพอยู่ 8 หรือ 9 ตัว ถ้ามี 8 ตัวจะเป็น Non Parity ถ้าเป็นหน่วยความจำที่มีชิพ อยู่ 3 ตัว หรือหน่วยความจำที่มีชิพอยู่ 9 ตัว จะเป็นหน่วยความจำที่มี Parity เมื่อได้มีการพัฒนาไปใช้ CPU 486 ที่มีบัส 32 บิต และ CPU Pentiumที่มีบัส 64 บิต ถ้าจะยังใช้ SIMM RAM 30 พิน ที่มีแบนด์วิดท์เพียง 16 บิต จะเป็นการไม่เพียงพอจึงได้มีการพัฒนา SIMM RAM 72 พินออกมาโดยมีแบนด์วิดท์เป็น 2 เท่าของแบบ 30 พิน คือมีแบนด์วิดท์เป็น 32 บิต SIMM RAMแบบ 72 พินนี้เหมาะกับ CPU ที่เป็น 32 บิตขึ้นไป อย่าง CPU 486 , Pentium , Pentium Pro และ Pentium 2 ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนา หน่วยความจำแบบ EDO (Extended Data Out) ออกมาซึ่งมีความเร็วมากกว่าหน่วยความจำ FPM แบบเดิม เนื่องจาก SIMM 72 พินมีข้อจำกัดในการติดตั้งที่ต้องใส่เป็นคู่ไม่สามารถใส่แผงเดียวได้ ซึ่งทำให้การติดตั้งอาจจะกระทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะต้อง ใส่หน่วยความจำในลักษณะเอียง 45 องศาก่อน แล้วจึงจะสามารถดันหน่วยความจำเข้าไปได้ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาหน่วยความจำแบบใหม่ที่มีความเร็วมากกว่า EDO โดยให้ชื่อหน่วยความจำ ชนิดนี้ว่า DIMM (Dual In-line Memory Module) ลักษณะของ DIMM ก็จะเป็นไปตามชื่อ กล่าวคือจะมีพินอยู่ทั้งสองด้านของโมดูลผิดกับหน่วยความจำแบบ SIMM ที่ถึงแม้จะมีจุดสัมผัสของพินทั้งสองด้านก็ตามแต่ทั้งสองด้านจะเป็นพินเดียวกันเช่นใน DIMM ซึ่งมีพิน 168 พิน แต่ละด้านจะมีพินอยู่ 84 พิน ส่วน SIMM ซึ่งมี 72 พินแต่ละด้านก็จะมีพินอยู่ 72 พิน DIMM จะมีให้เลือกใช้หลายขนาดถ้าเป็น DIMM ที่ใช้กับเครื่อง Laptop จะมีจำนวนพินอยู่ 72 พินคือมีพินด้านละ 36 พิน นอกจากนี้ยังมี DIMM ที่มี 144 พิน โดยมีพินด้านละ 72 พิน และ DIMM ที่มี 168 พินซึ่งใช้กับเครื่อง Desktop ที่เรารู้จักกันดี DIMM แบบ 168 พินจะมีขนาดความยาวกว่า SIMM 72 พินอยู่ 1 นิ้ว การติดตั้ง DIMM สามารถทำได้ง่ายและสะดวกกว่า SIMM เพราะการติกตั้ง DIMM ไม่จำเป็นต้องเอียง 45 องศา แต่สามารถใส่ในแนวตรง 90 องศาได้เลย โดยในการใส่ต้องปลดขาล็อกทั้ง 2 ข้างออกก่อนแล้วจึงกดหน่วยความจำ DIMM ลงไป ในซ็อกเก็ต DIMM และล็อกด้วยขาทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้การจะอัพเกรด DIMM ก็สามารถทำได้สะดวกเพราะสามารถใส่แผงเดียวก็ได้ไม่จำเป็นต้องใส่เป็นคู่ เหมือนใน SIMM หน่วยความจำแบบ DIMM มีใช้เฉพาะในเมนบอร์ดที่ใช้กับ CPU Pentium, Pentium Pro และ Pentium 2 หน่วยความจำแบบ DIMM จะมีความเร็วมากกว่า EDO อยู่เล็กน้อยเพราะหน่วยความจำแบบ DIMM มีความกว้างของทางเดินข้อมูล หรือแบนด์วิดท์ถึง 64 บิตซึ่งเท่ากับ CPU Pentium Pro และ

ขนาดของความจุ

ขนาดความจุของ หน่วยความจำ หน่วยความจำที่มีจำหน่ายจะมีทั้งแบบ Single Side และ Double Side หน่วยความจำแบบ Single Side หมายถึงหน่วยความจำที่มีชิพเพียงด้านเดียว ส่วนหน่วยความจำแบบ Double Side เป็นหน่วยความจำที่มีชิพทั้ง 2 ด้าน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยความจำแบบ SIMM หรือ DIMM จะมีวิธีการดูขนาดความจุของหน่วยความจำเหมือนกัน กล่าวคือเลขตัวแรกจะเป็นจำนวน MB ส่วนเลขตัวที่ตาม มาหลังเครื่องหมายคูณเป็นเลขจำนวนบิตที่บ่งบอกว่าเป็นหน่วยความจำประเภทใดถ้า เป็นเลข 32 จะเป็น SIMM แต่ถ้าเป็น 64 จะเป็น DIMM ให้คุณนำเลขตัวหลัง หารด้วย 8 เพื่อทำให้เป็นไบต์ แล้วคูณกับเลขตัวแรกจะได้ขนาดความจุของ หน่วยความจำนั้นออกมา เช่น ถ้าเป็น 4 x 32 SIMM ก็จะหมายถึง 4 MB x (32/8) บิต ซึ่งจะได้ 4 MB x 4 ไบต์ เท่ากับ 16 MB แสดงว่าเป็น SIMM ขนาด 16 MB แต่ถ้าเป็น 4 x 64 DIMM ก็จะเป็น DIMM ที่มีขนาด 4MB x 8 ไบต์ เท่ากับ 32 MB

DRAM (Dynamic Random Access Memory) ถือเป็นหน่วยความจำชนิดแรกๆที่มีการผลิตกัน DRAM จะทำงานได้ช้าเพราะ DRAM ต้องมีการเขียนข้อมูลลงไปซ้ำหลายครั้งเพื่อรักษาข้อมูลภายในให้คงอยู่เราเรียกการเขียนข้อมูลลงไปซ้ำๆนี้ว่า การรีเฟรช(ชาร์จไฟใหม่) ข้อมูลจะต้องมีการ refresh ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้ายกระบวนการเหล่านี้ใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที แต่ในขณะที่เกิดขึ้นนั้นระบบปฏิบัติการจะไม่สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลจากหน่วยความจำได้ซึ่งเราเรียกช่วงเวลานี้ว่า wait state ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่โปรเซสเซอร์ไม่ได้ทำงานอะไร เนื่องจากต้องรอจนกว่าหน่วยความจำจะทำงานเสร็จ ถึงแม้ว่า DRAM จะเป็นหน่วยความจำที่ช้าแต่ก็มีผู้นำมาใช้เพราะมีราคาถูกถ้าเทียบกับหน่วยความจำชนิดอื่น
FPM DRAM (Fast Page Mode DRAM) หน่วยความจำชนิดนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก DRAM แต่ก็ยังมีความเร็วไม่มาก เท่าใดนัก ก่อนที่ EDO DRAM จะเข้ามาหน่วยความจำชนิดนี้มีผู้นิยมใช้เป็นจำนวนมาก โดยแตกต่างจาก DRAM ที่การลดช่วงการหน่วงเวลาในขณะเข้าถึงข้อมูลลง ทำให้มัน มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า DRAM ปกติ โดยที่สัญญาณนาฬิกาปกติในการเข้าถึงข้อมูล จะเป็น 6-3-3-3 (เป็นอัตรา burst rate หมายถึง จำนวนรอบการทำงานของ CPU ที่ใช้ในการอ่านข้อมูล 4 bit ด้วยเงื่อนไขการอ่านข้อมูลที่เรียกว่า four-bit burst)( Latency เริ่มต้นที่ 3 clock พร้อมด้วย 3 clock สำหรับการเข้าถึง page ) และสำหรับระบบแบบ 32 bit จะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุด 100 MB ต่อวินาที ส่วนระบบแบบ 64 bit จะมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 200 MB ต่อวินาที
EDO DRAM (Extended Data Output DRAM) เป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วในการทำงานสูงกว่า FPM DRAM 15% เพราะ EDO สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลที่เป็นคำสั่งหรือค่าต่างๆกับแคชภายใน CPU ได้ ทีละบล็อค ซึ่ง FPM DRAM จะทำได้ทีละไบต์เท่านั้น และ CPU สามารถเข้าถึงข้อมูลในขณะที่ DRAM ถูก refresh ได้ ซึ่งเท่ากับว่าไม่มี wait state ทำให้ EDO สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลได้มากกว่า FPM ด้วยระยะเวลาที่เท่ากัน จึงทำ ให้ EDO ทำงานได้เร็วกว่า EDO สามารถทำงานกับความเร็วบัส ได้ถึง 66 MHz และ 83.3 MHz ที่ Timing 5-2-2-2 และหากว่า chip EDO นี้ มีความเร็วที่สูงมากพอ ( มากกว่า 50ns ) มันก็สามารถใช้งานได้ ณ 100 MHz ที่ Timing 6-3-3-3 EDO จะทำงานได้ดีเมื่อใช้กับแคชที่เป็นแบบ Pipeline Burst อัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดของ DRAM ชนิดนี้อยู่ที่ 264M ต่อวินาที การทำงานของ EDO DRAM จะอ้างอิงตำแหน่งที่อ่านข้อมูลจากครั้งก่อนไว้ด้วย ปกติแล้วการดึงข้อมูลจาก RAM ณ ตำแหน่งใดๆ มักจะดึงข้อมูล ณ ตำแหน่งที่อยู่ใกล้ๆ จากการดึงก่อนหน้านี้ เพราะงั้น ถ้ามีการอ้างอิง ณ ตำแหน่งเก่าไว้ก่อน ก็จะทำให้ เสียเวลาในการเข้าถึงตำแหน่งน้อยลง และอีกทั้งมันยังลดช่วงเวลาของ CAS(สัญญาณกำหนดตำแหน่งหลัก-Column Assign Signal) latency ลงด้วย และด้วยความสามารถนี้ ทำให้การเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นกว่าเดิม กว่า 40% เลยทีเดียว
SDRAM (Synchronous DRAM) สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้ทันทุกช่วงสัญญาณนาฬิกาของ CPU ซึ่งจะทำให้ CPU สามารถประมวลผลได้ทันทีโดยไม่ต้องคอยหน่วยความจำ SDRAM สนับสนุนความเร็วบัสได้ถึง 100 MHz หรือ มากกว่า และมี Access Time เพียง 10 ns SDRAM จะใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกำหนดการทำงาน โดยจะใช้ความถี่ของสัญญาณเป็นตัวระบุ SDRAM จะทำงานตามสัญญาณนาฬิกาขาขึ้น เพื่อรอรับตำแหน่งที่ต้องการให้มันอ่าน แล้วจากนั้น มันก็จะไปค้นหาให้ และให้ผลลัพธ์ออกมา หลังจากได้รับตำแหน่งแล้ว เท่ากับ ค่า CAS เช่น CAS 2 ก็คือ หลังจากรับตำแหน่งที่จะอ่านแล้ว มันก็จะให้ผลลัพธ์ออกมา ภายใน 2 ลูกของสัญญาณนาฬิกา SDRAM จะมี Timing เป็น 5-1-1-1 ซึ่งแน่นอน และมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 528 M ต่อวินาที โดยใช้อินเตอร์เฟสแบบ DIMM 168 pin
Full Parity RAM เป็นหน่วยความจำที่สามารถตรวจสอบความผิดพลาดในการอ่านและเขียนข้อมูล ถ้าพบว่ามีข้อมูลผิดพลาด ก็จะเกิดการหยุดทำงานของระบบ(system halt) ทำให้มีเสถียรภาพในการอ่านและเขียนข้อมูลดีที่สุด ราคาค่อนข้างสูง โดยจะมี ชิพเพิ่มจากเดิม 1 ตัว
Error Checking and Correction (ECC) เป็น หน่วยความจำชนิดหนึ่งราคาค่อนข้างสูง เพราะมันมีความสามารถตรวจเช็คความผิดพลาดของข้อมูลพร้อมทั้งแก้ไข bit ที่ผิดพลาดให้ด้วย โดยไม่ทำให้ระบบหยุดทำงาน(system halt) สังเกตโดยมีชิพตัวเล็กๆที่อยู่ริมขอบด้านหนึ่งของหน่วยความจำ RAM ได้ มักจะใช้ในเครื่องระดับ SERVER หรือเครื่อง Hi-

DDR SDRAM (SDRAM II) เป็น SDRAM รุ่นใหม่ โดยการทำงานของ DDR SDRAM นั้นจะใช้การส่งข้อมูลผ่านสัญญาณขาขึ้น และ ขาลง ของสัญญาณนาฬิกา แทนแบบเดิมที่ส่งข้อมูลผ่านสัญญาณขาขึ้นเท่านั้น ทำให้อัตราส่งถ่ายเพิ่มเป็น 2 เท่า คือที่มาของชื่อ DDR (Double Data Rate) นั่นเอง คล้ายๆกับ การทำงานในโหมด 2X ของ AGP มีอัตราส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1 G ต่อวินาที และมี Access Time เพียง 7.5 ns ปัจจุบันมีการนำมาใช้กับ CPU Athlon,Duronของ AMD โดยมีจำหน่ายรุ่น PC1600(เทียบเท่า SDRAM PC-100) , PC2100(เทียบเท่า SDRAM PC-133) PC2400(เทียบเท่า SDRAM PC-150) และ PC2700(เทียบเท่า SDRAM PC-166) ขนาด 184 pin ทำงานที่ความถี่ 266 - 300MHz
SLDRAM ใน SLDRAM จะใช้สถาปัตยกรรม Super Pipelined ลดไซเคิลการ ทำงานบางอย่างที่ทำให้ความเร็วลดลงออกไปด้วยความเร็วของ SLDRAM ทำให้สามารถทำงานได้ทันกับความเร็วบัส อีกทั้งพลังงานต่ำและมีระบบ ประหยัดพลังงานภายในอีกด้วย
ESDRAM (Enhanced Synchronous DRAM) ได้รับการคิดค้นโดยบริษัท EMSI โดยมีบริษัทที่เป็นสมาชิกในกลุ่มคือ บริษัท IBM, Digital และ VLSI ซึ่งจะนำไปใช้กับเครื่อง Alpha ของ Digital โดยประสิทธิภาพความเร็วที่ ESDRAM มีมากกว่าหน่วยความจำทั่วไป เกิดจากการนำ Row Register Cache เข้าไปรวมไว้ในชิพซื่งทำให้เพจข้อมูลของ ESDRAM สามารถเปิดได้คราวละ 2 เพจ ในขณะที่หน่วยความจำทั่วไปจะเปิดได้ครั้งละเพจเดียว เท่านั้น
RDRAM (Direct Rambus RAM) ได้รับการคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท Rambus เป็น หน่วยความจำแบบ RIMM 184 pin(168 pin?) เป็นเทคโนโลยีหน่วยความจำที่มีความเร็วสูงมาก มีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1.6 G ต่อวินาทีต่อ 1 ช่องสัญญาณ โดยใช้ Rumble Channel ความเร็ว 533 MB/s - 2 GB/s ที่ความถี่ 533-800 MHz และสนับสนุนความเร็วบัส 267 MHz ซึ่งทำให้ RDRAM สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลได้เร็วทันกับซีพียูที่มีบัส 133 MHz โดยไม่ต้องเสียเวลารอแบบหน่วยความจำรุ่นเก่า ใช้กระแสไฟฟ้า 2.5 V ปัจจุบันมีการนำมาใช้กับ CPU ของ Intel Pentium4 โดยมีจำหน่ายรุ่น PC600 และรุ่น PC800 ขนาด 184 pin RDRAM มีความแตกต่างจาก DRAM ทั่วไป รวมทั้ง SDRAM หลายๆด้านที่เด่นชัดที่สุด คือ RDRAM ใช้อินเตอร์เฟสระหว่างตนเองกับ Controller ขนาดเพียงแค่ 8 บิตแต่ด้วยความเร็วในระดับสูง (250MHz) ถึงแม้ว่า DRAM ส่วนใหญ่จะใช้อินเตอร์เฟสขนาด 16 หรือ 32 บิต (และรวมเอา DRAM ขนาด 16 บิต 4 ตัว หรือขนาด 32 บิต 2 ตัว ในการสร้างเส้นทางขนาด 64 บิตไปยังโปรเซสเซอร์) แต่จะพบว่า DRAM เหล่านี้ไม่สามารถรันได้รวดเร็วเท่า RDRAM
NVRAM (Nonvolatile RAM) คือ Ram ชนิดพิเศษที่สามารถเก็บข้อมูลเอาไว้ได้ถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแล้ว โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกเก็บใน EEPROM เช่น

VRAM (Video RAM) มีหลักการทำงานคือสามารถแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์ ได้พร้อมๆกับการประมวลผลคำสั่งในโปรเซสเซอร์ของการ์ดแสดงผลทำให้การแสดงผลสามารถทำได้ราบรื่น โดยการเพิ่ม serial port พิเศษขึ้นมาอีก 1 หรือ 2 port โดยที่ serial port ที่เพิ่มขึ้นมา จะใช้ในการส่งข้อมูลภาพ ออกสู่ display ส่วน parallel port ซึ่งเป็น standard interface ของมัน จะถูกใช้ในการติดต่อกับ host processor เพื่อสั่งการให้ทำการ refresh ภาพขึ้นมาใหม่
WRAM (Window RAM) สามารถรับข้อมูลเข้ามาและส่งออกไปได้ในเวลาเดียวกัน สามารถรองรับ Bandwith ที่สูงกว่า อีกทั้งยังใช้ระบบ Double-Buffer ทำให้ WRAM มีความสามารถในการทำงานสูงกว่า VRAM พัฒนาโดย Matrox
SGRAM (Synchronus Graphic RAM) มีความเร็วในการทำงานสูงพอๆกับ SDRAM แต่ SGRAM จะใช้สำหรับการ์ดแสดงผล โดยแตกต่างจาก SDRAM ที่ฟังก์ชั่นซึ่งใช้โดย Page Register ซึ่ง SGRAM สามารถทำการเขียนข้อมูลได้หลายๆตำแหน่ง ในสัญญาณนาฬิกาเดียว ทำให้มีความเร็วในการแสดงผลสูงมาก และClear หน้าจอได้เร็วมาก และ ยังสามารถเขียนเพียงแค่บาง bit ใน word ได้ ( คือไม่ต้องเขียนข้อมูลใหม่ทั้งหมด เขียนเพียงแค่ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น ) โดยใช้ bit mask ในการเลือก bit ที่จะเขียนใหม่
MDRAM (Multibank Dynamic RAM) เป็นหน่วยความจำที่ใช้กับการ์ดแสดงผลที่มีความเร็วในการทำงานสูง มาก สามารถส่งถ่ายข้อมูลได้เป็นกิกะไบต์ต่อวินาที

CACHE คือ หน่วยความจำขนาดเล็กที่มีความเร็วสูงซึ่งเก็บข้อมูล หรือคำสั่งที่ถูกเรียกใช้หรือเรียกใช้บ่อยๆ ข้อมูลและคำสั่งที่เก็บอยู่ใน CACHEซึ่งทำงานโดยใช้ SRAM (STATIC RAM) ซึ่งจะต่างจาก DRAM คือ จะrefresh ก็ต่อเมื่อ เราสั่งให้มัน refresh เท่านั้น ข้อมูลที่เก็บไว้ใน CACHE จะถูกดึงไปใช้งานได้เร็วกว่าการดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก (MAIN MEMORY) ซึ่งใช้DRAM (DYNAMIC RAM )หลายเท่าตัวการทำงานของ CACHE เป็นขั้นตอนดังนี้
โปรแกรมที่ทำงานโดยผ่านหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ได้ทำการเรียกข้อมูลหรือรหัสที่ CPU จำเป็นต้องใช้
RAM cache ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้รับสัญญานการเรียกข้อมูลในขณะที่คำสั่งการเรียกข้อมูลกำลังเดินทางไปยัง RAM และ cache จะทำการค้นหาข้อมูลจากRAM และส่งต่อข้อมูลไปยัง CPU ในการค้นหาข้อมูลครั้งแรกอาจจะใช้เวลานานโดยที่ตัว CPU ไม่สามารถทำงานอย่างอื่นได้ในเวลานั้น
ในขั้นตอนการค้นหาข้อมูลนี้ cache จะทำการบันทึกข้อมูลที่ค้นพบไว้ใน high-speed memory chips ที่มีเฉพาะภายใน cache
ในทันที่ cache ตรวจสอบพบว่า CPU ได้ทำงานเสร็จสิ้นและกำลังว่างอยู่ cache จะทำการค้นหาข้อมูลหรือรหัสของโปรแกรม ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับตำแหน่งของข้อมูลที่ทางโปรแกรมได้เรียกใช้ก่อนหน้านี้จาก memory address และจัดเก็บข้อมูลไว้ใน high-speed memory chips
ครั้งต่อไปที่ทางโปรแกรมถามหาข้อมูลจากทางหน่วยประมวลผลกลาง(CPU) cacheจะตรวจสอบดูว่าข้อมูลที่โปรแกรมต้องการมีอยู่ใน high-speed memory chips แล้วหรือยัง ถ้ามีอยู่แล้ว cache จะส่งข้อมูลไปให้ CPUได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านหน่วยความจำหลักซึ่งมีการทำงานที่ช้ากว่ามาก ทำให้ CPU สามารถลดเวลาไร้ประสิทธิภาพ และทำงานได้มากขึ้น
เมื่อ CPU ต้องการเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักอยู่แล้ว cache จะตรวจสอบดูก่อนว่าข้อมูลที่โปรแกรมต้องการจะเปลี่ยน มีการจัดเก็บอยู่ใน high-speed memory chips แล้วหรือยัง ถ้ามีอยู่แล้ว cache จะเปรียบเทียบข้อมูลที่มีอยู่เดิมกับข้อมูลใหม่ที่เปลี่ยนไป และจะส่งข้อมูลไปเฉพาะ memory address ใน หน่วยความจำหลัก ที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากข้อมูลเดิมใน high-speed memory chips ซึ่งจะเร็วกว่าการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมด ตัวอย่างการทำงานของ CACHE
เมื่อหน่วยประมวลผล(CPU)ทำการอ่านข้อมูล มันจะตรวจสอบว่าข้อมูลที่ต้องการเรียกใช้นั้นมีอยู่ใน CACHE หรือไม่ ถ้ามี ข้อมูลก็จะถูกถ่ายทอดไปยังหน่วยประมวลผลอย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก(DRAM หรือ RAM)ซึ่งจะใช้เวลานาน แต่ถ้าตรวจสอบแล้วไม่มีข้อมูลอยู่ใน CACHE หน่วยประมวลผลจะดึงข้อมูลจาก(DRAM หรือ RAM) จากนั้นจะทำสำเนาและเก็บข้อมูลไว้ใน CACHE ด้วย ถ้ามีการเรียกใช้ข้อมูลนี้อีก ข้อมูลจะถูกดึงจาก CACHE เมื่อต้องการเรียกใช้ข้อมูลที่มีอยู่ใน CACHE จะเรียกว่า HIT ประสิทธิภาพการทำงานของ CACHE ขึ้นอยู่กับอัตราการพบข้อมูล(HIT RATE) CACHEที่ดีคือ CACHEที่จำข้อมูลที่ถูกเรียกใช้บ่อยได้ดี
บนบอร์ด 100 MHz ของ Intel ต้องใช้เวลาถึง 180 Nanosec เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ในขณะที่ใช้เพียง 45 Nanosec ในการนำข้อมูลจาก CACHE ด้วยประสิทธิภาพที่ไม่น่าเชื่อของ CACHE ทำให้น่าจะใช้ CACHE มาเป็นหน่วยความจำหลักแทน แต่หน่วยความจำของ CACHE ใช้SRAM ซึ่งมีราคาสูงกว่า DRAM ที่ใช้ในหน่วยความจำหลัก ถึงประมาณ6เท่า ฉะนั้นทำให้การใช้ CACHE แทนหน่วยความจำหลักนั้นไม่คุ้มค่าเพราะทำให้สิ้นเปลืองสูง โดยอาจจะเปรียบเทียบได้กับ การลงทุนทำร้านขายของชำเพื่อที่จะเก็บสินค้าทุกประเภท ซึ่งเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าชนิดของ CACHE แบ่งเป็น 2 ชนิดดังนี้
-Level 1 (L1 CACHE) คือ CACHEที่สร้างลงบนchipCPU หรือเรียกอีกอย่างว่าinternal CACHE มีขนาดเล็ก อย่างเช่น ขนาด 8k สำหรับ chip 486, เพนเทียมและ เพนเทียมโปรมีอยู่ 16k ส่วนเพนเทียม MMX และเพนเทียม II มี CACHE L1ขนาด 32k
-Level 2 (L2 CACHE) คือ CACHEที่อยู่ระหว่างCPU กับ DRAM หรือเรียกอีกอย่างว่า external CACHE แต่มีขนาดใหญ่กว่า CACHE ชนิด L1 มาก แต่ในปัจจุบันมี CACHE L2 ของคอมพิวเตอร์บางรุ่นอยู่บน Chip CPU เช่น Chip ของ intel Pentium IIเป็นต้น
เทคโนโลยีและการพัฒนา CACHE
CACHE L2 256k สามารถประหยัดเวลาในการทำงานของคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากในการเก็บข้อมูลที่ใช้เป็นประจำ และการเพิ่ม CACHE L2 อีก 256k เป็น 512k จะช่วยในการเก็บข้อมูลของ CACHE L2 ได้มากขึ้น ปัจจุบันมี CACHE L2 ขนาด 1M ซึ่งใช้กับเพนเทียมโปรและในอนาคตจะมี CACHE L2 ขนาด 1Mและ 2M สำหรับเพนเทียมทู ออกมาซึ่งเป็นการพัฒนาของ CACHE L2อีกขั้นหนึ่งด้วย สำหรับ CACHE L1 นั้น ได้มีแผนการพัฒนาโดยจะขยายขนาดขึ้น คาดว่าจะออกสู่ตลาดภายในปลายปี2541นี้ และจะมีการผลิต CACHE L3 โดยทางบริษัท AMD คาดว่าจะนำเข้าสู่ตลาดภายในปลายปี2541 หรือต้นปี2542 ซึ่งCACHE L3 จะเป็น external cache และย้าย CACHE L2 เข้าไปอยู่ใน CPU โดยจะออกมากับชิป AMD K6+ 3D หรือ AMD K7
A SRAM(Asynchronous Static RAM) ถูกนำมาใช้เป็น cache ตั้งแต่ CPU 80386 มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลรวดเร็วกว่า DRAM และราคาแพงกว่า ที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 รุ่น แบ่งตามอัตราความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล มี 20, 15, 12 นาโนวินาที(ns) แต่ไม่สามารถที่จะทำงานที่ความเร็วเท่าๆกับความเร็วของ CPU ทำให้ CPU ต้องเสียเวลาคอยข้อมูล(Wait State)จาก SRAM
S SRAM(Synchronous Burst Static RAM) มีคุณสมบัติ Burst คือ ใช้สัญญาณนาฬิกาในการทำงานให้น้อยที่สุด โดยใช้สัญญาณนาฬิกาของตัวสแตติกหน่วยความจำเอง ในการอ่านข้อมูลที่ต่อเนื่องกัน สามารถรองรับความเร็วของสัญญาณนาฬิกาของระบบบัส 66 MHz ไม่ต้องเสียเวลาคอยข้อมูล(Wait State) ในท้องตลาดมีอยู่ 2 รุ่นคือ 8.5 และ 12 นาโนวินาที(ns) เหมาะกับ เมนบอร์ดเพนเทียม
PB SRAM(Pipelined Burst Static RAM) มีหน่วยความจำรีจิสเตอร์พิเศษอยู่ในชิปหน่วยความจำ ช่วยให้สามารถที่จะโอนข้อมูลพร้อมๆกับการระบุตำแหน่งและ อ้างถึงข้อมูลในสแตติกหน่วยความจำตำแหน่งต่อไป สามารถรองรับความเร็วของสัญญาณนาฬิกาที่สูงสุด 133 MHz ในท้องตลาดมีอยู่ 2 รุ่นคือ 4.5 และ 8 นาโนวินาที(ns) เหมาะกับระบบใหม่ที่มีความเร็วของสัญญาณนาฬิกา 75 - 100 MHz
ศัพท์เทคนิคเพิ่มเติมเกี่ยวกับCACHE
AsynchronousSRAM - SRAM ที่ไม่ใช้ระบบสัญญาณนาฬิกา(clock signal)ในการควบคุมสัญญาณ โดยจะมีราคาต่ำกว่าsynchronous SRAM ประมาณ30% ซึ่งรวมทั้ง ประสิทธิภาพก็จะต่ำกว่าด้วย
Burst -เป็นsynchronous cache อีกประเภทหนึ่ง มีความเร็วมากกว่า asynchronous cacheประมาณ 30-50% โดยที่ราคาจะสูงกว่า asynchronous cache ประมาณ 50%
Cache controller -เป็นวงจรที่ทำงานภายใต้การทำงานของ CPU cache และ DRAM
Cache miss --การที่ข้อมูลที่ CPUเรียกใช้หาไม่พบใน cache
CELP socket - เป็นประเภทของsocketที่นิยมใช้กับcache
COAST - ย่อมาจาก cache on a stick เป็น cache ที่นิยมใช้กัน
Direct-mapped cache - เนื้อที่ใน cache ที่จัดเก็บ ข้อมูลแต่ละข้อมูล โดยมีตำแหน่งที่แน่นอน
Full-associative cache -การที่ cache รับรู้ที่อยู่ของหน่วยความจำหลักทุกตัว
Index -เป็นส่วนหนึ่งของCPU address bitsที่ใช้เพื่อหาตำแหน่งของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ใน cache
Pipeline burst -synchronous cacheเป็น CACHE ชนิดหนึ่งมีราคาถูกกว่า burst แต่มีคุณสมบัติเหมือนกัน
Primary cache -L1 Cache อยู่ภายใน CPU
Secondary cache -L2 Cache อยู่ภายนอก CPU
Set-associativity -จำนวนของตำแหน่งที่อยู่ในหนึ่ง main memory address ที่สามารถใส่ลงไปใน cache
Synchronous SRAM - SRAM ที่ใช้ระบบสัญญาณนาฬิกา(clock signal)ในการควบคุมสัญญาณ ซึ่งทำให้หน่วยความจำของ cache สามารถทำงานกับ CPU เป็นขั้นตอนที่แน่นอน โดยอาจเป็นได้ทั้ง Burst หรือ Pipeline Burst
Tag -เป็นองค์ประกอบของ CPU address bits ซึ่งใช้สำหรับเปรียบเทียบ tag bits ของ cache directory กับ main memory address
Tag RAM -โดยปกติ cache จะแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ Tag RAM และData RAM โดย Tag RAM จะเก็บ Tag address ของตำแหน่งของข้อมูลใน cache ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่า ส่วน Data RAMซึ่งใช้เก็บข้อมูลและคำสั่ง
Write Back (copy back) -การที่ CPU บันทึกข้อมูลที่ถูกเรียกใช้ ลงใน cache
Write Through -เทคนิคการเขียนข้อมูลจาก CPU ลงไปใน cache และหน่วยข้อมูลหลักพร้อมกันเพื่อความมั่นใจในความต่อเนื่องของข้อมูล

ROM(Read Only Memory) คือหน่วยความจำที่สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ง่ายๆ ต้องใช้วิธีพิเศษที่ขึ้นอยู่กับชนิดของ ROM สามารถเก็บข้อมูลได้โดยไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงวงจร จะทำงานได้ช้ากว่า RAM ในการ setup BIOS จึงยังคงใช้วิธี Shadow RAM โดยจำลองข้อมูลใน ROM ไปเก็บไว้ใน RAM เพื่อเพิ่มความเร็วของระบบ
PROM(Programable ROM) เป็น ROM ที่ยอมให้ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลได้โดยใช้วิธี burning in โดยเครื่อง PROM Programmer จะเขียนข้อมูลโดยการส่งกระแสไฟฟ้าแรงสูง มีอินพุท เพียง 8 อินพุท หรือน้อยกว่า เป็นคำตอบโลจิคแบบสากล PROM ทางด้านอินพุท AND Array คงที่ และทางด้านเอาท์พุท สามารถโปรแกรม OR Array ได้
EPROM(Erasable PROM) เป็น PROM ที่สามารถลบได้ ผลิตจาก MOSFET ข้อมูลสามารถถูกลบได้โดยแสง UV(UltraViolet) เมื่อแสง UV กระทบ EPROM จะคายประจุทั้งหมด
Flash ROM หรือ EEPROM (Electrically Erasable Programmable ROM) เป็น EPROM ที่ลบข้อมูลได้โดยใช้กระแสไฟฟ้าธรรมดา เป็นส่วนประกอบของ BIOS ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ มีบรรจุในตัวถัง 2 ประเภทคือ DIP(Dual In-Line Package) 32 ขา มีขาอยู่ 2ด้านของตัวถัง ตัวถังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดใหญ่ mainboard ส่วนใหญ่จะใช้แบบนี้ PLCC(Plastic Leadless Chip Carrier) 32 ขา มีขารอบตัวถัง จะมีขนาดเล็กกว่า นิยมใช้ใน mainboard ใหม่ๆเช่น Abit BH6
เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น

ที่มา http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html

เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/RoomNet2545/activity1/c2-3.htm

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)มาจากการผสมคำระหว่างสารสนเทศ (Information)กับคำว่าเทคโนโลยี(Technology) ซึ่งมีนักวิชาการได้ให้ความหมายไว้หลายท่าน ดังนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลข้อมูล และสามารถติดต่อสื่อสารกับเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน(ชัยพจน์ รักงาม, 2540, หน้า42) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง ความรู้ในวิธีการประมวล จัดเก็บรวบรวม เรียกใช้และนำเสนอด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (พจนารถ ทองคำเจริญ, 2539, หน้า14) เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารทุกรูปแบบ ไม่วาจะเป็น ข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพ ผ่านสื่อต่างๆ(วิภาวดี ดิษฐสุธรรม, 2540, หน้า10) เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งรวมแล้วคือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม(ครรชิต มาลัยวงศ์, 2540, หน้า17) จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การติดต่อสื่อสาร การส่งข้อมูลทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพโดยผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยผ่านระบบโทรคมนาคม

ที่มา http://www.geocities.com/wipawee_1/tech.html


เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้

ที่มา http://gotoknow.org/blog/pankaew32/31146

ส่วนคำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ Information Technology นั้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2535 กล่าวไว้ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงความรู้ ในผลิตภัณฑ์หรือในกระบวนการดำเนินงานใด ๆ ที่อาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ การติดต่อสื่อสาร การรวบรวม และการนำข้อมูลมาใช้อย่างทันการ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งทางด้านการผลิต การบริการ การบริหาร และการดำเนินงาน รวมทั้งเพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้าน เศรษฐกิจ การค้า และการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต และคุณภาพของประชาชนในสังคม” หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงเทคโนโลยีที่เกียวกับการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อจำทำสารสนเทศไว้ใช้งานซึ่งประกอบด้วย เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโทรคมนาคมเป็นหลัก และยังรวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูล ข่าวสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการจัดการและจัดเก็บข้อมูลส่วนการสื่อสารโทรคมนาคม ใช้เป็นสื่อในการจัดส่งข้อมูล เผยแพร่ภาพและเสียงออกไปเพื่อสื่อสารกัน

ที่มา http://www.cybergogy.com/somsit/423302InformationTechnology/ITdefinitnition.html